วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553

บทที่ 6

บทที่ 6

1. ระบบปฏิบัติการเครือข่าย Windows Server 2003 เป็นระบบปฏิบัติการในรูปแบบใด

ค. Gui

2. Windows Server 2003 Edition ใดที่มีความน่าเชื่อถือสูงรองรับ Multiprocessor ได้ถึง 8 ตัว

ข. Enterprite Edition

3. Windows Server 2003 Edition ใดที่มีขีดความสามารถสูงสุดในกลุ่ม

ง. Datacenter Edition

4. ข้อใดต่อไปนี้เป็นหน้าที่ของ Active Directory Service

ง. ถูกทุกข้อ

5. ข้อใดต่อไปนี้เป็นหน้าที่ของ Active Directory Database

ก. สร้างฐานข้อมูลจัดเก็บทรัพยากรบนเครือข่าย

6. ข้อใดให้ความหมายของทรีได้อย่างถูกต้อง

ค. กลุ่มของโดเมนภายใต้ทรีเดียวกัน

7. ข้อใดให้ความหมายของฟอเรสต์ได้อย่างถูกต้อง

ก. กลุ่มของทรีหลาย ๆ กลุ่มรวมกัน

8. กลุ่มบัญชีผู้ใช้ จัดเป็นส่วนที่เรียกว่าอะไร

ง. ออบเจ็กต์

9. ข้อใดต่อไปนี้เป็นแปลงจัดเก็บออบเจ็กต่าง ๆ ลงในคอนเทนเนอร์

ข. Organization Unit

10. ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ใช่หน้าที่ของโดเมนคอนโทรลเลอร์

ก. จัดการกับระบบความปลอดภัยเครือข่ายเต็มรูปแบบ

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

บทที่ 3

1.การโฆษณาบนเว็บ (Web Advertising) คืออะไร

การขายรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สินค้าและบริการของบริษัทเป็นที่รู้จักและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคผ่านทางสื่อโฆษณาที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน เช่น โทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ เป็นต้น แต่สื่อโฆษณาเหล่านี้ล้วนแต่เป็นการตลาดแบบติดต่อสื่อสารแบบทางเดียว (One-way Communication)


2.บอกข้อแตกต่างระหว่าง Ad Views และ Ad Click

แอดวิวส์ (Ad Views/Impression/Page Views) เป็นจำนวนครั้งที่ลูกค้าเห็นหน้าเว็บที่มีป้ายโฆษณา (Banner)ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งตามที่กำหนดไว้

แอดคลิก (Ad-Click / Click-Through) เป็นการนับจำนวนครั้งที่ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์คลิกที่ป้ายโฆษณาในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อไปยังเว็บไซต์ปลายทาง


3.CPM (Cost Per Thousand Impression) คืออะไร

ต้นทุนที่ผู้โฆษณาจะต้องจ่ายเป็นค่าป้ายโฆษณา


4.Conversion Rate ของเว็บไซต์ที่มีจำนวนผู้เยี่ยมชม 100 คน แต่มีผู้ซื้อสินค้าจริง 50 คน มีค่าเท่าใด

50%

5.Click Through Ratio เมื่อมีผู้เยี่ยมชมเปิดเพจที่มีโฆษณา 150 เพจ แต่คลิกเข้าไปดูโฆษณาจริง 20 ครั้ง มีค่าเท่าใด

30%

6.บอกข้อแตกต่างระหว่าง Banner Swapping และ Banner Exchange
Banner Swapping ข้อตกลงทางธุรกิจระหว่างบริษัท 2 บริษัท เพื่อแลกเปลี่ยนแบนเนอร์ระหว่างกัน โดยแต่ละฝ่ายจะนำแบนเนอร์ของอีกฝ่ายไปแสดงไว้บนเว็บเพจของตน

Banner Exchange แหล่งแลกเปลี่ยนแบนเนอร์ระหว่างบริษัทต่าง ๆ ตามเงื่อนไขที่กำหนดขึ้น โดยสามารถจัดการแลกเปลี่ยนแบนเนอร์ตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไป


7.อธิบายข้อจำกัดของการโฆษณาแบบป๊อปอัพ (Pop-Up) พอสังเขป
โดยทั่วไป ป๊อปอัพ (Pop-Up) โฆษณาแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

Pop-Up Advertising เป็นโฆษณาที่แยกออกเป็นเว็บบราวเซอร์หน้าต่างใหม่ และจะปรากฏขึ้นพร้อมกับเว็บเพจที่มีโฆษณาสินค้านั้น โดย Pop-Up โฆษณาจะอยู่ด้านบนของเว็บเพจที่ผู้ใช้เรียกทำงานอยู่ (Active Window)

Pop-Under Advertising เป็นโฆษณาที่แยกออกเป็นเว็บบราวเซอร์หน้าต่างใหม่เช่นเดียวกับ Pop-Up แต่จะอยู่ด้านล่างของเว็บเพจที่ผู้ใช้เรียกทำงานอยู่ ดังนั้น ผู้ใช้จะต้องปิดเว็บเพจนั้นเสียก่อน จึงจะเห็นหน้าโฆษณานี้
แม้ว่า Pop-Up ทั้ง 2 แบบ จะช่วยสร้างจุดสนใจให้กับผู้ชมเว็บไซต์ แต่ก็สร้างความรำคาญใจได้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะ Pop-Up โฆษณาที่ปิดได้ยาก นอกจากนี้ ปัจจุบันยังได้มีการพัฒนาโปรแกรมบล็อกการแสดงผล Pop-Up เพื่อป้องกัน Pop-Up ที่แอบแฝงไวรัส ซึ่งมาจากผู้มีเจตนาร้ายด้วย ดังนั้น ผู้ที่ต้องการเลือกลงโฆษณาด้วยวิธีนี้ จะต้องคำนึงถึงข้อจำกัดดังกล่าวด้วย




8.ยกตัวอย่างกลยุทธ์ที่ใช้ในการโฆษณาบนเว็บมา 5 ชนิด อธิบายพอสังเขป
1.การโฆษณาผ่านทางแบนเนอร์
ป้ายโฆษณาหรือแบนเนอร์อาจเป็นข้อความสั้น ๆ ภาพเคลื่อนไหว หรือสื่อมัลติมีเดียที่ผสมผสานภาพและเสียงไว้ด้วยกัน เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้กับสินค้าและบริการมากขึ้น โดยเมื่อผู้ชมคลิกที่แบนเนอร์ ก็จะเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ของบริษัทที่เป็นเจ้าของสินค้าชนิดนั้น สำหรับขนาดของแบนเนอร์ที่ใช้โฆษณาอาจแตกต่างกัน (ดังรูปที่ 8.2) แต่โดยทั่วไปจะมีความกว้างเท่ากับ 0.5 – 1 นิ้ว และมีความยาวเท่ากับ 5 – 6.25 นิ้ว

2.การโฆษณาผ่านทางป๊อปอัพ
โดยทั่วไป ป๊อปอัพ (Pop-Up) โฆษณาแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

Pop-Up Advertising เป็นโฆษณาที่แยกออกเป็นเว็บบราวเซอร์หน้าต่างใหม่ และจะปรากฏขึ้นพร้อมกับเว็บเพจที่มีโฆษณาสินค้านั้น โดย Pop-Up โฆษณาจะอยู่ด้านบนของเว็บเพจที่ผู้ใช้เรียกทำงานอยู่ (Active Window)

Pop-Under Advertising เป็นโฆษณาที่แยกออกเป็นเว็บบราวเซอร์หน้าต่างใหม่เช่นเดียวกับ Pop-Up แต่จะอยู่ด้านล่างของเว็บเพจที่ผู้ใช้เรียกทำงานอยู่ ดังนั้น ผู้ใช้จะต้องปิดเว็บเพจนั้นเสียก่อน จึงจะเห็นหน้าโฆษณานี้


3.การโฆษณาผ่านทางอีเมล์
เป็นการแนบข้อมูลสินค้าและบริการของบริษัทไปกับอีเมล์เพื่อส่งไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นบุคคลทั่วไป บริษัท หรือจากรายชื่อผู้ที่เคยเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่บันทึกไว้ในฐานข้อมูลของบริษัทก็ได้ นับว่าเป็นรูปแบบการโฆษณาที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและยังสะดวก รวดเร็ว สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากพร้อมกันในเวลาเดียวได้ นอกจากนี้ ปัจจุบันการรับส่งอีเมล์ไม่ได้จำกัดอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเท่านั้น แต่ยังสามารถรับส่งอีเมล์ไปยังอุปกรณ์พกพา เช่น เครื่อง PDA หรือโทรศัพท์มือถือได้ อีเมล์จึงเป็นอีกหนึ่งรูปแบบการโฆษณาที่มีผู้ให้ความสนใจนำมาใช้งานกันมากขึ้น

4.การโฆษณาผ่านทาง URL
เป็นการโฆษณาโดยอาศัยเครื่องมือประเภทเว็บไดเรกทอรีและเสิร์ชเอนจิ้น โดยผู้ใช้บริการจะต้องลงโฆษณากับผู้ให้บริการเหล่านี้ก่อน ซึ่งมีทั้งแบบเสียค่าใช้จ่าย และไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด จากนั้นโปรแกรมก็จะจัดเก็บดัชนีคำศัพท์ และ URL (Universal Resource Locator) ของเว็บไซต์ไว้ในฐานข้อมูล หากมีผู้ใช้ค้นหาคีย์เวิร์ด (Keyword) ที่ตรงกับข้อมูลของ URL ใดโปรแกรมก็จะแสดงผลลัพธ์เป็นชื่อ URL ของเว็บไซต์นั้นขึ้นมา ตัวอย่างเว็บไซต์ที่ให้บริการประเภทนี้ เช่น www.google.com, www.yahoo.com และ www.altavista.com

5.การโฆษณาผ่านห้องสนทนาและบล็อก
ห้องสนทนา (Chat Room) เป็นการติดต่อสื่อสารแบบ 2 ทาง กล่าวคือ คู่สนทนาสามารถโต้ตอบระหว่างกันได้ในเวลาที่เกิดขึ้นจริง ณ ขณะนั้น โดยที่ไม่ต้องเผชิญหน้ากัน ห้องสนทนาจึงเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่นำมาใช้เป็นช่องทางโฆษณาได้ โดยวิธีนี้จะแตกต่างจากการใช้แบนเนอร์เพื่อโฆษณาบนเว็บเพจทั่วไป กล่าวคือ สามารถนำเสนอสินค้าและบริการได้ตลอดเวลาที่มีการออนไลน์อยู่ และสามารถย้อนกลับมานำเสนอสินค้าชนิดเดิมกับกลุ่มลูกค้าเดิมซ้ำได้ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ก็มีข้อจำกัดที่สำคัญ คือต้องใช้เวลาในการสนทนานาน และกลุ่มเป้าหมายที่ได้ค่อนข้างแคบ




9.หากบริษัทคิดค่าโฆษณาจาก Click –Through บริษัทจะต้องเสียค่าโฆษณาเท่าใด ถ้าต้องการให้มีป้ายโฆษณาปรากฏขึ้นมา 100,000 ครั้ง โดยที่ป้ายโฆษณาของบริษัทที่ปรากฏขึ้นมา 1,000 ครั้ง จะมีผู้ชมคลิกที่โฆษณา 75 ครั้ง และทุกครั้งที่ผู้ชมคลิกที่ป้ายโฆษณา บริษัทจะต้องเสียค่าใช้จ่าย 5 บาท
ตอบ--37500 บาท


10.E-Catalog คืออะไร
รายการสินค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการได้สะดวกขึ้น รายการสินค้าจะถูกนำเสนอในรูปแบบโบรชัวร์ (Brochure)

11.บอกข้อแตกต่างระหว่างการใช้ E-Catalog และการนำเสนอสินค้าแบบโบร์ชัวร์มา 5 ข้อ






















12.เสิร์ชเอนจิ้น (Search Engine) คืออะไร

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลในฐานข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตได้ โดยจะทำหน้าที่ค้นหาข้อมูลในฐานข้อมูลที่มีคีย์เวิร์ด (Keyword) ตรงกับที่ผู้ใช้ระบุไว้ แล้วนำมาแสดงผลลัพธ์ด้วยกลไกการทำงานของเสิร์ชเอนจิ้น จึงช่วยลดภาระด้านต้นทุนและเวลาที่ใช้ค้นหาข้อมูลเป็นอย่างมาก

13.ตัวแทนปัญญา (Intelligent Agent) คืออะไร

โปรแกรมที่มีขีดความสามารถมากกว่าเสิร์ชเอนจิ้น นิยมนำมาใช้จัดการกับงานประจำ (Routine Tasks) ที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีที่ชาญฉลาด เช่น การเฝ้าระวังการทำงานบนเว็บ โดยคอยตรวจสอบและแจ้งเตือนผู้ใช้ หากพบว่าผู้ใช้เข้าไปใช้งานในส่วนพื้นที่ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของข้อมูล เป็นต้น

บทที่ 2

1.บอกข้อแตกต่างของการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing) กับการค้าปลีกรูปแบบเดิม
ตอบ--
การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Retailing: E- Retailing หรือ E-Tailing) หมายถึง การขายสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภคโดยตรงผ่านอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่ต้องผ่านคนกลางแต่อย่างใด และเรียกบริษัทที่ทำธุรกิจวิธีนี้ว่า “ผู้ค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailer หรือ E-Tailer)”
ส่วนค้าปลีกธรรมดาคือไม่ผ่านอินเทอร์เน็ต




2.สินค้าและบริการที่จะเสนอขายผ่านร้านค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ควรมีคุณลักษณะเช่นใด
ตอบ--
สินค้าและบริการที่เสนอขายบนร้านค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์มีอยู่หลายชนิด เช่น หนังสือ ดนตรี เสื้อผ้า เครื่องประดับ บริการด้านการท่องเที่ยว บริการธุรกรรมทางการเงิน และบริการซื้อขายหุ้น เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หากต้องการทำร้านค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ให้ประสบความสำเร็จ สินค้าและบริการควรมีคุณลักษณะสำคัญ ดังต่อไปนี้



ชื่อตราสินค้า (Brand) สามารถจดจำได้ง่าย หรือเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี

มีการรับประกันคุณภาพของสินค้าหรือบริการหลังการขาย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า

สินค้าและบริการควรมีมาตรฐานรองรับ เพื่อให้ลูกค้าสามารถตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น

เป็นสินค้าที่อยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์ดิจิตอล (Digital Product) ได้ เช่น ดนตรี ภาพยนตร์ หรือซอฟแวร์ เป็นต้น

หากเป็นสินค้าที่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป ควรมีราคาถูกกว่าราคาปกติ

เป็นสินค้าที่ได้รับการบรรจุห่อแน่นหนา ลูกค้าสามารถมั่นใจได้ว่าสินค้าจะไม่ถูกเปิดออกก่อนส่งถึงมือลูกค้า




3.อธิบายแบบจำลองการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์แต่ละประเภทมาพอสังเขป
ตอบ--
- แบ่งตามแหล่งที่มาของรายได้
1. Subscription
2. Transaction fee
3. Advertising
4. Sponsorship
- แบ่งตามคุณลักษณะของเว็บไซต์
1. Direct Marketing
2. Pure E-Retailing หรือ Full cybermarketing
3. Mixed Retailing หรือ Partial cybermarketing




4.ยกตัวอย่างเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเลือกซื้อสินค้าออนไลน์มา 3 ชนิด
ตอบ--
-----------เว็บไซต์ท่าขายสินค้า (Shopping Portals Site)

หมายถึง เว็บไซต์ที่เป็นศูนย์กลางสำหรับการขายสินค้าและบริการ ซึ่งเปรียบได้กับห้างสรรพสินค้าที่รวบรวมผู้ขายสินค้ารายต่าง ๆ เอาไว้ แล้วจัดหมวดหมู่ของสินค้าและบริการอย่างเป็นระเบียบ เพื่อความสะดวกในการค้นหา หรือเชื่อมโยงไปยังผู้ขายที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้เว็บไซต์ท่ายังให้บริการเปรียบเทียบข้อมูลสินค้าและบริการตามราคา ประเภท คุณสมบัติ และเงื่อนไขของผู้ซื้อด้วย โดยเว็บไซต์ท่าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เว็บไซต์ท่าที่ขายสินค้าเฉพาะอย่าง (Special Niche) เช่น www.krungthongplaza.com และเว็บไซต์ท่าที่ขายสินค้าและบริการหลากหลายชนิด (Comprehensive) เช่น http://market.yellowpages.co.th

-----------เว็บไซต์ตัวแทนปัญญา (Shopbots Software Agent)

หรือที่เรียกว่า “Shopping Robot” เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับค้นหาและเปรียบเทียบสินค้าและบริการในด้านต่าง ๆ ตามเงื่อนไขที่ผู้ซื้อต้องการ เช่น เงื่อนไขด้านราคา คุณภาพ และความนิยมของสินค้า เป็นต้น ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้มักจะนำปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent) มาประยุกต์ใช้เช่นเดียวกับ

เครื่องมือประเภทเสิร์ชเอนจิ้น ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทนี้ เช่น www.pricegrabbler.com,
www.nokia.co.th และ www.mysimon.com เป็นต้น
เว็บไซต์ตัวแทนปัญญายังมีบริการคอยส่งอีเมล์ เพื่อแจ้งข่าวสารไปยังลูกค้าเนื่องในโอกาสต่าง ๆ เช่น บริษัทจัดลดราคาสินค้า แนะนำสินค้าใหม่ หรือมีการประมูลสินค้ารอบสุดท้าย เป็นต้น รวมถึงการส่งข่าวสารตามความสนใจของลูกค้าที่ได้เคยกรอกรายละเอียด ไว้ในเว็บไซต์นั้นด้วย เช่น ในเว็บไซต์ Yahoo.com มีช่องรายการให้ผู้สมัครสมาชิกคลิกเลือกประเภทข้อมูลที่สนใจจะรับข่าวสารจากทางบริษัท เป็นต้น

-----------เว็บไซต์วัดความนิยมหรือเรทติ้ง (Business Rating Site)
เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความนิยม โดยเปรียบเทียบผู้ขายสินค้าและบริการแต่ละรายผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ผู้ซื้อได้ระบุความต้องการที่จะเปรียบเทียบ ตัวอย่างเว็บไซต์ประเภทนี้ เช่น www.bizrate.com และ www.gomez.com

5.อธิบายปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์มาพอสังเขป

ตอบ--
- Profitability -- กำไร
- Branding -- ตราสินค้า
- Performance -- การนำเสนอ
- Web site Design -- การออกแบบเว็บไซต์


6.การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในขั้นตอนซื้อ-ขายสินค้า จัดว่าเป็นกลยุทธ์การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์แบบใด

ตอบ--
การให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว

_____________________________________________________________________________________

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552

1. ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน VMware บน Dekstop


2.เลือก YES กด OK


3.เลือก New VirTual


4.กด NEXT


5.เลือก Custom


6.กด Next


7.เลือกระบบปฏิบัติการที่ต้องการติดตั้ง ในที่นี้เป็นระบบปฏิบัติการ Window Server 2003 Standard Edition


8.เลือก Next


9.เลือก One


10.เลือกขนาดความจุของ Memmory ในที่นี้เลือก 384


11.กด Next


12.กด Next


13.กด Next


14.เลือก IDE


15.เลือกขนาดความจุของ Disk Size ในที่นี้เลือก 8 GB


16.กด Finsh


17.กด Close


18.จะได้คอมพิวเตอร์จำลองขึ้นมา 1 เครื่องทันที

การติดตั้งระบบ Linux บน ระบบ

ขั้นตอนการติดตั้ง Linux บนระบบ Windows
1. ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน Setup ในโฟล์เดอร์ VMware


2.กด NEXT


3.เลือกTypcal


4.กด NEXT


5.โปรแกรมจะบอกว่าจะสร้างIconไว้ที่ Destop , All Progream ให้เรากด Next


6.กด Intall


7.รอให้โปรแกรมติดตั้ง


8.เสร็จแล้วเลือด Finsh


9.กรอก Serial Number



10.เครื่องจะถามว่าจะReStart ตอนนี้หรือไม่ ให้กด YES

วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2552

คำศัพท์เกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

---โครงสร้างแบบบัส (Bus Topology)
เป็นโครงสร้างที่เชื่อมคอมพิวเตอร์แต่ละตัวด้วยสายเคเบิลที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งสายเคเบิลหรือบัสนี้เปรียบเสมือนกับถนนที่ข้อมูลจะถูกส่งผ่านไปมาระหว่างแต่ละเครื่องได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องผ่านไปที่ศูนย์กลางก่อน โครงสร้างแบบนี้มีข้อดีที่ใช้สายน้อย และถ้ามีเครื่องเสียก็ไม่มีผลอะไรต่อระบบโดยรวม ส่วนข้อเสียก็คือตรวจหาจุดที่เป็นปัญหาได้ยาก


โครงสร้างแบบวงแหวน (Ring Topology)
เป็นโครงสร้างที่เชื่อมคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเข้าเป็นวงแหวน ข้อมูลจะถูกส่งต่อ ๆ กันไปในวงแหวนจนกว่าจะถึงเครื่องผู้รับที่ถูกต้อง ข้อดีของโครงสร้างแบบนี้คือ ใช้สายเคเบิลน้อย และสามารถตัดเครื่องที่เสียออกจากระบบได้ ทำให้ไม่มีผลต่อระบบเครือข่าย ข้อเสียคือหากมีเครื่องที่มีปัญหาอยู่ในระบบจะทำให้เครือข่ายไม่สามารถทำงานได้เลย และการเชื่อมต่อเครื่องเข้าสู่เครือข่ายอาจต้องหยุดระบบทั้งหมดลงก่อน


โครงสร้างแบบดาว (Star Topology)
เป็นโครงสร้างที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง หรือ ฮับ (hub) การรับส่งข้อมูลทั้งหมดจะต้องผ่านคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสมอ มีข้อดีคือการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบกับเครื่องอื่นในระบบเลย แต่ข้อเสียคือมี ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสายสูงและถ้าคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสียระบบเครือข่ายจะหยุดชะงักทั้งหมดทันที


โครงสร้างแบบเมช (Mesh Topology)
โครงสร้างแบบเมชมีการทำงานโดยเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต้องมีช่องส่งสัญญาณจำนวนมาก เพื่อที่จะเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ทุกเครื่อง
โครงสร้างนี้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะส่งข้อมูลได้อิสระไม่ต้องรอการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ทำให้การส่งข้อมูลมีความรวดเร็ว แต่ค่าใช้จ่ายสายเคเบิ้ลก็สูงด้วยเช่นกัน

WAN
เครือข่าย WAN เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันในระยะทางที่ห่างไกล อาจจะเป็นหลาย ๆ กิโลเมตร
ดังนั้นความเร็วในการเชื่อมโยงระหว่างกันอาจไม่สูงมากนัก เพราะระยะทางไกลทำให้มีสัญญาณรบกวนได้สูง ความเร็วจึงอยู่ในระดับช่วง 9.6-64 Kbps และ 1.5-2 Mbps ขึ้นอยู่กับแอพพลิเคชั่นและขนาดของข้อมูล
ทั้งเครือข่ายแบบ LAN และ WAN ล้วนแล้วแต่ใช้หลักการของแพ็กเก็ตสวิตชิ่ง กล่าวคือ มีการกำหนดวิธีการรับส่งข้อมูลเป็นแพ็กเก็ต โดยให้แต่ละอุปกรณ์มีแอดเดรสประจำ วิธีการรับส่งมีได้หลากหลาย เราเรียกวิธีการว่า "โปรโตคอล (Protocol)" ดังนั้นจึงมีมาตรฐานการเชื่อมโยงระยะไกลมีการกำหนด
แอดเดรส เช่นในเครือข่าย X.25 ข้อมูลจากที่หนึ่งส่งเป็นแพ็กเก็ตส่งต่อไปยังปลายทางได้
ข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตจากจุดเริ่มต้น มีแอดเดรสกำกับตำแหน่งปลายทางและตำแหน่งต้นทางแอดเดรส
เหล่านี้เป็นรหัสที่รับรู้ได้ อุปกรณ์สวิตช์จะเลือกทางส่งไปให้ หากมีปัญหาใดทำให้ปลายทางรับได้ไม่ถูกต้อง
เช่นมีสัญญาณรบกวน ระบบจะมีการเรียกร้องให้ส่งให้ใหม่เพื่อว่าการรับส่งข้อมูลจะต้องถูกต้องเสมอ ระบบการโต้ตอบเหล่านี้จึงเป็นมาตรฐานที่กำหนดของเครือข่ายนั้น ๆ


อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบเครือข่าย
ในการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายนั้น จำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์ระบบเครือข่ายเพื่อใช้เป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูล ซึ่งอุปกรณ์ระบบเครอข่ายดังกล่าวมีหลายชนิดด้วยกัน แต่ละอย่างก็จะทำงานต่างหน้าที่กัน ผู้ดูแลระบบจะต้องรู้หน้าที่และกลไกการทำงานของอุปกรณ์เครือข่ายชนิดต่าง ๆ เป็นอย่างดี จึงจะสามารถออกแบบ ติดตั้ง ปรับค่าคอนฟิก และดูแลรักษาระบบเครือข่ายได้
ประกอบด้วย
1. เซิร์ฟเวอร์ (Server) เป็นคอมพิวเตอร์แม่ข่าย คอยให้บริการข้อมูล และทรัพยากรอื่นๆ
2. สถานีงาน (Workstation) หรือโหนด (Node) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการติดต่อ เข้าเครือข่าย LAN
3. Network Adapter Card จะทำงานกับ ซอฟต์แวร์เครือข่ายและระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์เพื่อส่งและรับ ข้อมูลข่าวสารบนเครือข่าย LAN ทั้ง Workstation และ Server แต่ละเครื่องจะมี Network Adapter Card อยู่ภายในเครื่อง โดยทั่วไปจะถูกใส่ลงในช่องขยายระบบ (expansion slot) และเชื่อมต่อกันด้วยสายสัญญาณ

4. Hub and Switch ใช้เป็นศูนย์กลางของเครือข่ายแบบดาว Hub รุ่นใหม่ๆ จะรวมตัวขยายสัญญาณ (Repeater) ไว้ในตัวด้วย Hub มีหลายแบบ เช่น 24 พอร์ต 16 พอร์ต 8 พอร์ต และ 4 พอร์ต บางครั้งสำหรับบางเครือข่ายอาจไม่จำเป็นต้องใช้ Hub ก็ได้ เช่น เครือข่าย แบบบัส เป็นต้น

5. หัว RJ-45 ใช้เชื่อมต่อกับสาย UTP ใช้กับการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบ LAN แบบ Ethernets

6. คีมเข้าหัว RJ-45 ใช้สำหรับบีบหัว RJ-45 กับสาย UTP ให้เชื่อมต่อกัน

7. สายสัญญาณ ใช้สำหรับเชื่อมต่อระหว่าง Hub กับเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือคอมพิวเตอร์ลูกข่าย สายสัญญาณมีอยู่หลายแบบ เช่น สายโคแอกเชียล สายคู่บิดเกลียวไม่มี ชิลด์ (UTP) เส้นใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) เป็นต้น


การ์ดเน็ตเวิร์ก (Network Interface Card)
ซึ่งมักจะถูกเรียกว่า “การ์ดแลน” นั้นมีหน้าที่ในการที่จะนำเฟรมข้อมูล (เป็นก้อนข้อมูลที่จัดอยู่ใน Layer 2 ของ OSI Reference Model ที่จะได้ศึกษาต่อไป) ส่งลำเลียงไปตามสายนำส่งสัญญาณ ซึ่งมันจะแปลงเฟรมข้อมูลให้เป็นข้อมูลระดับบิต (bit) เสียก่อน โดยส่วนมากแล้วมักจะใช้การ์ดเน็ตเวิร์กแบบ Ethernet ซึ่งจะมีความเร็วในการรับส่ง 10 เมกะบิตต่อวินาที และใช้ Fast Ethernet ที่มีความเร็วในการรับส่งสูงถึง 100 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งปัจจุบันการ์ดเน็ตเวิร์กที่เป็นที่นิยมจะต้องทำการรับส่งได้ทั้งสองความเร็วคือ 10 และ 100 เมกะบิตต่อวินาที ซึ่งใช้สัญลักษณ์ 10/100 Mbps และมักจะต่อเชื่อมกับสายสัญญาณชนิด UTP ทางช่อง RJ-45 การ์ดเน็ตเวิร์กของเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางและเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางจะส่งข้อมูลหากันโดยการอ้างถึงหมายเลขประจำการ์ดเน็ตเวิร์ก ซึ่งเรียกว่า MAC Address ซึ่งเป็นเลขฐานสิบหกจำนวน 12 ตัว (6 ไบต์)


สายสัญญาณ (Cable)
สายสัญญาณมีหน้าที่ลำเลียงข้อมูลดิจิตอลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง สายสัญญาณมีหลายชนิด ซึ่งมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน

สาย TP (Twisted Pair)
เป็นสายคู่ตีเกลียวบิดไขว้กันไปตลอดแนวความยาว เพื่อลดการรบกวนจากสัญญาณภายนอก แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ แบบที่มีชีลห่อหุ้ม ซึ่งเรียกว่า STP (Shield Twisted Pair) และแบบที่ไม่มีชีลห่อหุ้มซึ่งเรียกว่า UTP (Unshield Twisted Pair) ปัจจุบันนิยมใช้สาย UTP เนื่องจากมีราคาถูกสาย UTP มักจะต่อเชื่อมกับการ์ดเน็ตเวิร์กด้วยแจ๊คแบบ RJ-45

สาย UTP ที่ใช้กับระบบแลนทั่ว ๆ ไป จะประกอบด้วยสายไฟฟ้าข้างใน 8 เส้น ถ้าปลายทั้งสองข้างเรียงสีเหมือนกันจะเรียกว่า “สายตรง” แต่ถ้าปลายทั้งสองข้างเรียงสีไม่เหมือนกัน โดยมีการสลับตำแหน่งกัน 2 คู่ คือ 1 สลับกับ 3 ส่วน 2 สลับกับ 6 จะเรียกว่า “สายไขว้” สายตรงมีไว้เพื่อเชื่อมระหว่างคอมพิวเตอร์กับฮับ/สวิตช์ หรือต่อระหว่างฮับ/สวิตช์กับฮับ/สวิตช์ด้วยกันเองโดยที่ฮับ/สวิตช์ตัวใดตัวหนึ่งต้องต่อที่ช่อง Up-Link ส่วนสายไขว้มีไว้ต่อเชื่อมระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์โดยตรง หรือฮับ / สวิตช์กับฮับ / สวิตช์ด้วยกันเอง โดยที่ไม่ใช้ช่อง Up-Link เลย

สายโคแอคเชียล (Coaxial)
เป็นสายที่มีลักษณะคล้ายกับสายที่ต่อระหว่างเครื่องรับโทรทัศน์กับเสาอากาศ ซึ่งโครงสร้างของมันจะประกอบด้วยแกนทองแดงตรงกลางและมีฉนวนหุ้มท ถัดออกมาข้างนอกก็จะเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ทำเป็นลักษณะทรงกระบอกหุ้มห่อไว้อีกทีหนึ่ง เพื่อจะป้องกันสนามไฟฟ้าให้ได้มากที่สุด และรอบนอกก็จะหุ้มด้วยฉนวนอีกครั้งหนึ่ง ในอดีตนิยมนำมาต่อกับแลนที่มีการเชื่อมต่อแบบบัสและแบบวงแหวน ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้แล้ว


สายไฟเบอร์ออปติก (Fiber-Optic)
เป็นสายนำสัญญาณที่ใช้รับส่งข้อมูลในรูปของแสง โครงสร้างภายในจะเป็นท่อเล็ก ๆ ที่ทำมาจากแก้ว ซึ่งทำหน้าที่สะท้อนแสง แสงที่เดินทางจากต้นทางไปยังปลายทางจะไม่สะท้อนออกมาข้างนอก แต่จะสะท้อนไปมาภายในตลอดแนวความยาว ซึ่งใช้หลักการของดัชนีการหักเหของแสง สายไฟเบอร์ออปติกจะสามารถส่งสัญญาณได้เร็วกว่า 100 เมกะบิตต่อวินาที และจะไม่ถูกรบกวนจากสนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าจากภายนอกแต่ข้อเสียของมันก็คือมีราคาแพง

รีพีตเตอร์ (Repeater)
เมื่อคอมพิวเตอร์ส่งสัญญาณข้อมูลในรูปของสัญญาณไฟฟ้าไปตามสายที่มีความยาวมาก จะทำให้ความแรงของสัญญาณไฟฟ้าที่ปลายสายค่อย ๆ ลดน้อยลงไปตามระยะทางที่ยาวขึ้น เมื่อต้องการติดตั้งระบบแลนที่กินพื้นที่ค่อนข้างกว้าง จำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มความแรงของสัญญาณดังกล่าว เพื่อที่ต้นทางจะได้ส่งข้อมูลไปให้ถึงปลายทางได้ รีพีตเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเพิ่มความแรงของสัญญาณ ซึ่งนับว่ามีประโยชน์มาก แต่การเพิ่มความแรงของสัญญาณนั้น จะทำให้สัญญาณรบกวน (noise) ถูกเพิ่มความแรงขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงทำให้มีข้อจำกัดว่าควรที่จะใช้รีพีตเตอร์ได้ไม่เกินกี่จุดในแนวความยาวนั้น เช่น อีเทอร์เน็ตไม่ควรต่อรีพีตเตอร์เกิน 4 จุด เป็นต้น


ฮับ (Hub)
เป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่พบเห็นได้บ่อย เนื่องจากฮับใช้เชื่อมต่อเครือข่ายอีเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบดาว (Star Topology) โดยใช้สาย UTP ต่อเชื่อมระหว่างการ์ดเน็ตเวิร์กบนเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับฮับ โดยเชื่อมต่อทางช่องเสียบ RJ-45 ซึ่งการต่อระบบแลนลักษณะนี้เป็นที่นิยมมากที่สุดปัจจุบัน ฮับจะมีช่องเสียบ RJ-45 ตัวเมียอยู่หลายช่อง เพื่อใช้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ถ้ายิ่งมีช่องเสียบมากก็จะยิ่งต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์ได้มาก แต่ราคาก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย การทำงานของฮับนั้นก็คล้าย ๆ กับรีพีตเตอร์ คือมันจะทำซ้ำและเพิ่มความแรงของสัญญาณทางไฟฟ้า แล้วส่งออกไปยังพอร์ต (ช่องเสียบ) ที่เหลือ แต่จะต่างกันตรงที่ฮับมีพอร์ตมากกว่ารีพีตเตอร์ ข้อดีของฮับคือมีราคาถูก แต่ข้อเสียคือเรื่องการชนกัน (Collision) ของข้อมูล (เนื่องจากคอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมกับฮับจะอยู่ในคอลลิชันโดเมนเดียวกัน) ถ้ายิ่งต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก ก็ยิ่งทำให้โอกาสที่จะเกิดการชนกันของข้อมูลสูง ซึ่งทำให้ความเร็วโดยรวมของระบบช้าลง


บริดจ์ (Bridge)
สร้างขึ้นมาเพื่อลดปัญหาการชนกันของข้อมูลที่เกิดจากการใช้ฮับ โดยบริดจ์จะสามารถแบ่งคอลลิชันโดเมนให้มีจำนวนมากขึ้น ซึ่งมีผลทำให้ในแต่ละคอลลิชันโดเมนเหลือจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์น้อยลง จึงทำให้โอกาสที่จะเกิดการชนกันของข้อมูลได้น้อยลงตามไปด้วย ปัจจุบันบริดจ์ไม่ค่อยได้รับความนิยมแล้ว เนื่องจากมีอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คล้ายกันแต่ดีกว่า ซึ่งก็คือสวิตช์


สวิตช์ (Switch)
สวิตช์ทำงานเหมือนกับบริดจ์ เพียงแต่มีพอร์ตมากกว่า ซึ่งจำนวนพอร์ตจะมากพอ ๆ กับฮับ สวิตช์จะมีหน้าตาคล้ายกับฮับมาก แต่การทำงานจะแตกต่างกัน สวิตช์จะเลือกส่งข้อมูลออกไปเฉพาะพอร์ตที่ใช้ติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง ดังนั้น จึงไม่มีโอกาสเกิดการชนกันของข้อมูล ทำให้ประสิทธิภาพด้านความเร็วของเครือข่ายสูงขึ้นมาก และเนื่องจากในปัจจุบันราคาของสิวตช์ถูกลงมาก จึงมีหลายหน่วยงานที่นำสวิตช์ไปใช้แทนฮับเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพด้านความเร็วของเครือข่าย และนอกจากนั้นสวิตช์ยังมีข้อได้เปรียบในเรื่องของความปลอดภัยจากการแบดักจับข้อมูลอีกด้วย ซึ่งจะได้กล่าวในบทต่อไป


เร้าเตอร์ (Router)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมระหว่างเครือข่าย ซึ่งโดยส่วนมากมักจะใช้เร้าเตอร์เพื่อเชื่อมโยงระหว่างเครือข่ายแลนภายในองค์กรกับอินเทอร์เน็ต หรือเชื่อมระหว่างศูนย์กลางกับสาขา เป็นต้น


สวิตช์เลเยอร์สาม (Layer 3 Switch)
สวิตช์เลเยอร์สามเป็นสวิตช์ที่สามารถทำงานเป็นเร้าเตอร์ได้ในตัว ซึ่งส่วนมากแล้วมักจะใช้เลือกเส้นทางระหว่างเน็ตเวิร์กภายในแลน สวิตช์เลเยอร์สามมีความเร็วในการเร้าต์แพ็กเก็ต (Packet) ข้อมูลได้สูงกว่าเร้าเตอร์เนื่องจากมันทำงานในระดับฮาร์ดแวร์ โดยทั่ว ๆ ไป มักจะนำสิวตช์เลเยอร์สามมาใช้กับการทำเวอร์ชวลแลน (VLAN) เพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัยและลดจำนวนแพ็กเก็ตที่เกิดจากการบรอดคาสต์


โปรโตคอล (Protocol)
การที่คอมพิวเตอร์ 2 เครื่องจะสื่อสารกันได้นั้น จะต้องใช้ภาษากลางในการสื่อสารกันซึ่งเรียกว่า โปรโตคอล ปัจจุบันโปรโตคอลมีมากมายหลายชนิดขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงานของระบบ ว่าต้องใช้โปรโตคอลอะไรเมื่อเวลาใด เช่นเมื่อมีผู้ใช้จากเครื่องไคลเอนต์มาขอรับอีเมล์จากเมล์เซิร์ฟเวอร์ด้วยโปรโตคอล POP3 ตัวเมล์เซิร์ฟเวอร์ก็จะต้องพูดจาภาษาโปรโตคอล POP3 กับเครื่องไคลเอนต์ด้วยเช่นกัน


CSMA / CD
เป็นโปรโตคอลในระบบเครือข่าย Ethernet เป็นระบบแลนชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน ใช้เมื่อการ์ดเน็ตเวิร์กต้องการจะส่งข้อมูลออกไปตามสายเพื่อป้องกันการชนกันของข้อมูล การ์ดเน็ตเวิร์กจะทำการเงื่ยหูฟังสักระยะหนึ่งก่อนว่าสายส่งว่างแล้วหรือยัง เมื่อไม่มีใครส่งข้อมูลมันก็จะทำการส่งข้อมูลออกไปตามสายสัญญาณและคอยเงี่ยหูฟังอยู่เป็นระยะ ๆ เมื่อพบว่ามีการชนกันของข้อมูลมันจะหยุดส่งทันที แล้วสุ่มช่วงเวลาเพื่อส่งข้อมูลใหม่อีก เนื่องจากฝ่ายตรงข้ามที่ชนกับเราก็ใช้โปรโตคอล CSMA / CD เช่นกัน ดังนั้นใครที่สุ่มช่วงเวลาได้น้อยกว่าคนนั้นก็จะได้ส่งก่อน


ARP
เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งต้องการส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งตามไอพีแอดเดรสที่ระบุ (ไอพีแอดเดรสเป็นตัวที่ใช้บ่งบอกว่าเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องใดในเน็ตเวิร์ก แต่ไอพีแอดเดรสจะอยู่ในระดับที่สูงกว่า MAC Address นั่นคือไอพีแอดเดรสอยู่ในระดับที่ห่างไกลจากระดับการทำงานทางกายภาพ เช่น การส่งสัญญาณไฟฟ้ามากกว่า MAC Address) การ์ดเน็ตเวิร์กผู้ที่จะต้องส่งเฟรมข้อมูลไปยัง MAC Address ของการ์ดเน็ตเวิร์กบนเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง จำเป็นที่จะต้องทราบว่าถ้าต้องการส่งไปยังไอพีแอดเดรสนี้ ต้องส่งไป MAC Address หมายเลขอะไร ดังนั้นจึงต้องมีโปรโตคอลที่ใช้ในการค้นหาคำตอบดังกล่าว ซึ่งโปรโตคอลนั้น ก็ถูกนักคอมพิวเตอร์คิดค้นขึ้นมาแล้วได้รับการตั้งชื่อว่า (ARP: Address Resolution Protocol) การทำงานของ ARP คือ เริ่มจากผู้ส่งทำการตรวจสอบในตารางข้อมูล ARP ของตนเองก่อน ถ้าไม่มีข้อมูล MAC Address ของปลายทางก็จะส่งคำร้องขอ (ARP Request) กระจายแบบบรอดคาสต์ออกไป คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายจะได้รับคำร้องขอนี้ แล้วแต่ละเครื่องก็จะนำไอพีแอดเดรสที่ต้นทางส่งมา ทำการเปรียบเทียบกับไอพีแอดเดรสของตนเอง ถ้าตรงกับของตนเองก็จะส่งคำตอบรับ (ARP Reply) กลับไปยังต้นทาง ซึ่งข้อมูลที่ส่งตอบรับกลับไปจะมีหมายเลข MAC Address ของตนเองด้วย พร้อมทั้งเก็บไอพีแอดเดรส และ MAC Address ของผู้ส่งไว้ในตารางข้อมูล ARP ของตนเองด้วย

PPP (Point to Point Protocol)
PPP เป็นโปรโตคอลแบบจุดต่อจุดชนิดหนึ่ง มักใช้กับเครือข่าย WAN ซึ่ง PPP ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อชดเชยข้อบกพร่องหลายอย่างของโปรโตคอล SLIP เช่น SLIP ไม่สามารถรับรองความผิดพลาดในการส่งข้อมูล และไม่สามารถกำหนดไอพีแอดเดรสโดยอัตโนมัติได้ เป็นต้น ตัวอย่างการใช้งานโปรโตคอล PPP ก็อย่างเช่น เมื่อเราทำการ Dial ไปยัง ISP เพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เป็นต้น


IP (Internet Protocol)
IP เป็นโปรโตคอลในระดับชั้นเน็ตเวิร์ก ซึ่งทำหน้าที่กำหนดหมายเลขไอพีแอดเดรสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นตัวที่บ่งบอกให้เร้าเตอร์ทราบว่าควรจะส่งแพ็กเก็ตนี้ไปเส้นทางใด โปรโตคอล IP จะมีลักษณะเป็น Unreliable และ connectionless ซึ่ง unreliable หมายถึงโปรโตคอล IP ไม่มีกลไกที่จะรับประกันว่าข้อมูลส่งถึงปลายทางได้สำเร็จ ส่วน connectionless หมายถึงไม่มีการสถาปนาการเชื่อมต่อ ดังนั้นการที่จะให้ข้อมูลเชื่อถือได้จึงตกเป็นหน้าที่ของโปรโตคอลระดับบนเช่น TCP เป็นต้น



UDP
เป็นโปรโตคอลชั้นที่อยู่สูงกว่าโปรโตคอล IP โปรโตคอล UDP เป็นโปรโตคอลที่เชื่อถือไม่ได้ เพราะถ้าข้อมูลหายระหว่างทางข้อมูลจะไม่ถูกนำส่งใหม่ UDP มักจะถูกนำมาใช้กับงานทางด้าน Multimedia เช่นส่งภาพและเสียง ซึ่งถ้าภาพที่ต้องการส่งมีการสูญหายของข้อมูลไปสัก 2 หรือ 3 pixel (จุดสี)
เราก็ยังเห็นเป็นภาพอยู่ดี ข้อดีของ UDP ก็คือ ได้เปรียบด้านความเร็ว เพราะขั้นตอนของมันจะไม่ยุ่งยากเหมือนกับ TCP



TCP
เป็นโปรโตคอลชั้นที่อยู่สูงกว่า IP และอยู่ในระดับเดียวกันกับ UDP โปรโตคอล TCP จะมีความน่าเชื่อถือเพราะจะมีการรับประกันว่าข้อมูลที่ส่งจะไม่สูญหาย (เนื่องจากมันถูกออกแบบมาอย่างนั้น) เมื่อข้อมูลมาไม่ครบจะมีการส่งใหม่ TCP เป็นโปรโตคอลที่นำมาใช้กับงานที่ต้องการความถูกต้องเชื่อถือได้ เช่น นำมาใช้เป็นพาหนะให้โปรโตคอล Telnet เช่น ถ้าเราส่งคำสั่ง Ls * จากเครื่องของเรนาไปยังเซิร์ฟเวอร์ (Server) เพื่อทำการแสดงรายชื่อไฟล์ได้ถูกต้อง แต่ถ้าเกิดให้ Telnet วิ่งอยู่บน UDP แล้ว ด้วยข้อจำกัดของ UDP อาจจะทำให้คำสั่งนั้นกลายเป็น m * ซึ่งเป็นคำสั่งที่ใช้ในการลบไฟล์ก็ได้ เพราะ UDP ไม่รับประกันความถูกต้อง



ICMP
เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการแจ้งข้อผิดพลาดและปัญหาที่เกิดจากการลำเลียง IP Address ซึ่งภายในแพ็กเก็ต ของ ICMP จะบรรจุข้อมูลเกี่ยวกับข้อผิดพลาดและปัญหาที่เกิดขึ้น



HTTPเป็นโปรโตคอลที่เอาไว้ให้เบราเซอร์ คุยกับเว็บเซิร์ฟเวอร์ เพื่อใช้ในการขอและรับรวมทั้งควบคุมการถ่ายโอน หน้าเว็บเพจต่าง ๆ มาแสดง โปรโตคอล HTTP จะวิ่งอยู่ข้างบน TCP อีกทีหนึ่งเพื่อที่จะได้ข้อมูลมาครบถ้วน โดยปกติแล้ว HTTP จะใช้พอร์ตหมายเลข 80



DNS
เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการแปลงชื่อโดเมนเนมให้เป็นไอพีแอดเดรส (IP Address) เช่น แปลงจาก www.nectec.or.th ให้เป็น 202.44.204.33 เป็นต้น ในการตั้งค่า DNS ในเครื่องไคลเอนต์ก็เพื่อระบุว่า จะขอให้เครื่อง DNS Server เครื่องใดเป็นตัวช่วยแปลงชื่อให้เป็นไอพีแอดเดรสให้ เราสามารถใช้ DNS ของ ISP ก็ได้ เมื่อส่งชื่อไปให้ DNS Server เพื่อทำการแปลงแล้ว DNS Server ดังกล่าวอาจจะไปขอให้ DNS Server เครื่องอื่นที่อยู่ในระดับที่สูงกว่าช่วยแปลงให้ก็ได้ ถ้ามันมีข้อมูลไม่เพียงพอ และ DNS Server ระดับที่สูงกว่าก็อาจจะขอให้ DNS Server ระดับที่สูงกว่ามันช่วยอีกทีก็ได้ DNS Server ระดับสูงสุดเรียกว่า Root Server จะมีอยู่ 13 เครื่องทั่วโลกคือ A.Root-Servers.Net, B.Root-Servers.Net ไปจนถึง M.Root-Servers.Net โปรโตคอล DNSจะวิ่งอยู่บน UDP port 53 และ TCP port 53


SMTP
เป็นโปรโตคอลที่ใช้ในการส่งอีเมล์ไปยังเมล์เซิร์ฟเวอร์ เช่น เมื่อเราส่งอีเมล์หา Billgates@microsoft.com ขั้นแรกเราต้องส่งอีเมล์เข้าเมล์เซิร์ฟเวอร์ของหน่วยงานเรา ซึ่งเมล์เซิร์ฟเวอร์จะเปิดบริการ SMTP รอรับไว้บน TCP port 25 จากนั้นเมล์เซิร์ฟเวอร์ของหน่วยงานเราจะส่งไปให้เมล์เซิร์ฟเวอร์ของไมโครซอฟท์ อาจจะต้องส่งเข้าเครื่อง mail.microsoft.com หรือ mail2.microsoft.com ก็ได้ แล้วแต่ค่าที่มีอยู่ใน MX Record ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับโปรโตคอล SMTP จะได้ศึกษากันในบทที่เกี่ยวกับเมล์เซิร์ฟเวอร์


POP3เป็นโปรโตคอลที่มีไว้ใช้ในการขอรับอีเมล์จากเมล์เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งเมล์เซิร์ฟเวอร์ต้องเปิดบริการ POP3 ไว้ ซึ่ง POP3 จะวิ่งอยู่บน TCP พอร์ต 110 และหลังจากทำการคัดลอกอีเมล์มาไว้บนเครื่องไคลเอนต์แล้ว โปรแกรมอีเมล์ไคลเอนต์ เช่น Outlook Express จะทำการลบอีเมล์เซิร์ฟเวอร์ทิ้งไป เพื่อเป็นการประหยัดเนื้อที่บนเซิร์ฟเวอร์


IMAP
โปรโตคอลที่ใหม่กว่า POP3 ข้อแตกต่างที่หลัก ๆ ของมันก็คือ การที่ให้อีเมล์อยู่ที่เมล์เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งโปรแกรมอีเมล์ไคลเอนต์ เช่น Outlook Express จะทำการอ่านข้อมูลของอีเมล์บนเซิร์ฟเวอร์ แล้วนำมาแสดงผลให้เราดูเสมือนว่าอีเมล์อยู่บนเครื่องเรา

SNMP
โปรโตคอล SNMP มีไว้เพื่อให้ผู้ดูแลระบบสามารถที่จะมอนิเตอร์ดูสถานะและการทำงานของอุปกรณ์เน็ตเวิร์กต่างๆ เช่น เร้าเตอร์ ได้โดยที่ซอฟต์แวร์ทางฝั่งไคลเอนต์ที่จะส่งคำสั่งเพื่อขอข้อมูลจากอุปกรณ์เร้าเตอร์จะต้องส่ง Community String เข้าไปด้วย ทางอุปกรณ์แตอร์จะตรวจสอบว่า Community String ถูกต้องหรือไม่ก่อนที่มันจะทำการส่งข้อมูลกลับมา